วันอังคารที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

ฆ้องมอญ


                         ฆ้องมอญ เป็นฆ้องวงที่ตั้งโค้งขึ้นไปทั้งสองข้าง ไม่วางราบไปกับพื้นเหมือนกับฆ้องไทย วงฆ้องส่วนที่โค้งขึ้นไปนั้น แกะสลักเป็นลวดลายปิดทองประดับกระจกอย่างงดงาม ส่วนมากมักแกะเป็น รูปกินนร เรียกกันว่าหน้าพระ  ตอนกลางโค้งแกะเป็นกระหนกใบเทศปิดทองประดับกระจกเช่นกัน มีเท้า รองตรงกลางเหมือนกับเท้าของระนาดเอก ฆ้องมอญวงหนึ่ง ๆ มีจำนวน 15 ลูก สำหรับใช้บรรเลงใน วงปี่ พาทย์รามัญ หรือปี่พาทย์มอญ วงฆ้องมอญมีการแยกขนาดแบบไทย คือมีฆ้องมอญใหญ่ และ ฆ้องมอญเล็ก
                      ฆ้องเป็นเครื่องดนตรีเก่าแก่ของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ดังมีภาพจารึก อยู่ที่หน้ากลอง มโหรทึก อายุราว 2,500 ปีมาแล้ว ซึ่งหน้าตาของฆ้องที่ปรากฎนั้นก็ยังเหมือนกับฆ้องที่เราพบเห็นกันอยู่ใน ปัจจุบันนี้
                      สำหรับฆ้องมอญแล้ว เป็นเครื่องดนตรีเก่าแก่ของมอญ เรียกว่าเป็นเครื่องดนตรีชิ้นครูก็ว่าได้ เพราะสามารถใช้เทียบเสียงในการตั้งเสียงเครื่องดนตรีชนิดอื่น ๆ ให้มีระดับเดียวกัน และกลมกลืน ขณะ บรรเลงร่วมกัน แม้ฆ้องจะมีอยู่ในวงดนตรีของหลายชาติหลายภาษาทว่ารูปแบบของฆ้องมอญ นั้นมีเอก ลักษณ์เฉพาะตัวที่โดดเด่นดังจะเห็นได้ว่าแต่เดิมในการบรรเลงดนตรีปี่พาทย์มอญ นั้นจะตั้งฆ้องเอาไว้หลัง สุด เพราะฆ้องมีความสูงจะได้ไม่บังเครื่องดนตรีและผู้เล่นคนอื่น แต่ในปัจจุบันกลับเปลี่ยนความนิยมใหม่ นำฆ้องมาวางข้างหน้า ยิ่งมากยิ่งดี เพราะต้องการแสดงให้เห็นความอ่อนช้อยสวยงามของร้านฆ้องมอญ อย่างการแสดงลิเกในปัจจุบันนั้นเห็นได้ชัดที่สุด มักนำฆ้องมอญขึ้นไปวางบรรเลงในชั้นบนจำนวนหลาย
ร้าน เต็มความกว้างของเวที ประดับประดาขนนกยูงเพิ่มความสวยงาม นับเป็นจุดขายอีกอย่างหนึ่ง
                          เป็นฆ้องวงที่ตั้งโค้งขึ้นไปทั้ง 2 ข้าง ไม่วางลงราบไปกับพื้น เหมือนฆ้องไทย ฆ้องมอญวงหนึ่งมีจำนวน 15 ลูก ร้านฆ้องวงมักประดิษฐ์แต่งกันอย่างสวยงาม เช่น แกะสลักเป็นลวดลาย ปิดทองประดับกระจก ฆ้องมอญใช้บรรเลงในวงปี่พาทย์มอญ ซึ่งในปัจจุบัน นิยมใช้บรรเลงประโคมในงานศพ ฆ้องมอญมี 2 ชนิด เช่นเดียวกับฆ้องวงของไทย คือ ฆ้องมอญวงใหญ่ และฆ้องมอญวงเล็ก
1. การบรรเลงฆ้องวง ผู้เล่นต้องนั่งให้ตรงกลางฆ้องวง วิธีการนั่ง นั่งได้ทั้งพับเพียบหรือขัดสมาธิ การจับ     ไม้ตีฆ้องวงผู้บรรเลงต้องรวบนิ้วกลางนิ้วนางและนิ้วก้อย กำไม้ฆ้องไว้กับฝ่ามือ ใช้นิ้วโป้งและ นิ้วชี้เป็น      ตัวประคอง ให้นิ้วชี้ชิดกับหัวไม้
2. การเก็บไม้ตีฆ้อง ควรมีถุงใส่ หรือวางรวมกันไว้บนลูกฆ้อง ไม่ควรวางกับพื้น
3. การทำความสะอาด ควรใช้ผ้าแห้งหรือผ้าหมาดๆทำความสะอาด
4. ควรวางฆ้องวงให้ราบกับพื้น ไม่ควรวางหรือตั้งพิงไว้ข้างฝาผนัง เพราะอาจทำให้ฆ้องวงล้มอาจหักได้
5. การยกฆ้องวง ไม่ควรยกเพียงคนเดียวเนื่องจากเป็นเครื่องตีที่มีน้ำหนักมากและขนาดใหญ่ ควรจะยกฆ้อง     ให้ตั้งฉาก หรือขนานกับพื้น ห้ามกับด้าน

โหม่ง


                       โหม่งเป็นเครื่องกำกับการขับบทของนายหนัง โหม่งมี 2 ใบ ร้อยเชือกแขวนไว้ในรางไม้ ห่างกัน ประมาณ 2 นิ้ว เรียกว่า "รางโหม่ง" ใบที่ใช้ตีเป็นเหล็กมีเสียงแหลมเรียกว่า "หน่วยจี้" อีกใบหนึ่งเสียงทุ้ม เรียก ว่า "หน่วยทุ้ม" ในอดีตใช้โหม่งราง โหม่งลูกฟากก็เรียก ทำด้วยเหล็กหนาประมาณ 0.4 เซนติเมตร ยาว 10 นิ้ว กว้าง 4 นิ้ว อัดส่วนกลางให้เป็นปุ่มสำหรับตี ส่วนโหม่งหล่อใช้กันมาประมาณ 60 ปี หล่อด้วยทองสำริดรูป ลักษณะเหมือนฆ้องวง การซื้อโหม่งต้องเลือกซื้อที่เข้ากับเสียงของนายหนัง อาจขูดใต้ปุ่มหรือพอกชัน อุงด้าน ใน ให้มีใยเสียงกลมกลืนกับเสียงของนายหนัง ไม้ตีโหม่งใช้อันเดียว ปลายข้างหนึ่งพันด้วยผ้าหรือสวมยาง ทำให้โหม่งมีเสียงนุ่มนวล และสึกหรอน้อยใช้ได้นาน

                        โหม่ง คือ ฆ้องคู่ เสียงต่างกันที่เสียงแหลม เรียกว่า "เสียงโหม้ง" ที่เสียงทุ้ม เรียกว่า"เสียงหมุ่ง" หรือ บางครั้งอาจจะเรียกว่าลูกเอกและลูก ทุ้มซึ่งมีเสียงแตกต่างกันเป็น คู่แปดแต่ดั้งเดิมแล้วจะใช้คู่ห้า

                          วิธีตีโหม่งในวงปี่พาทย์หรือเครื่องสาย ผู้ตีนั่งขัดสมาธิ ให้โหม่งวางอยู่ตรงหน้า จับไม้ตีตีตรง กลางปุ่มด้วยน้ำหนักพอประมาณเนื่องจากโหม่งชนิดนี้มีเสียงดังกังวานยาวนาน จึงนิยมตีห่างๆ คือสองฉิ่งสอง ฉับต่อการตีโหม่งครั้งหนึ่ง แต่ถ้าเป็นวงกลองยาวหรือวงมังคละ จะนิยมตีลงที่จังหวะหนัก ( ฉับ ) ตลอดโดย ไม่เว้น

รำมะนา


                       เครื่องดนตรีไทยประเภทเครื่องตีชนิดหนึ่งใช้บรรเลงร่วมกับโทน ทำจากไม้เนื้อแข็งและ
หนังสัตว์เป็นหลัก โดยคัดเลือกไม้ที่เป็นชนิดและอายุที่เหมาะสม นำมากลึงและคว้าน ผึ่งให้แห้ง ขัดผิวให้
เรียบทั้งด้านนอกและด้านใน ทาสารเคลือบเงาเพื่อความสวยงาม ขึ้นหน้ากลองด้วยหนังสัตว์ แล้วนำไป
ทดสอบคุณภาพเสียงเพื่อให้ได้เสียงมาตรฐานตามที่ต้องการ สามารถนำไปบรรเลงในวงดนตรีไทย
ประเภทต่างๆ และบรรเลงตามโอกาสต่างๆ ได้จริง
                         หุ่นรำมะนา หน้ารำมะนา และหมุด ต้องเป็นกลองหน้าเดียว หุ่นรำมะนามีลักษณะคล้าย ชามทำจากไม้ที่เป็น ชนิดและอายุที่เหมาะสม ขึ้นหน้า ด้วยหนังสัตว์ หมุดที่ใช้ตรึงหน้ากลองต้องเหมาะสม เนื้อไม้ต้องเรียบ ไม่ปรากฏข้อบกพร่อง เช่น รอยร้าว รอยแตก ร่องรอยการเจาะกัดกินของแมลง
                         นั่งขัดสมาธิ ให้ตัวรำมะนาวางลงกับพื้น หน้าผู้ตี โดยหันหน้าหนังออก ตีทั้งฝ่ามือบริเวณใกล้ขอบ กลอง ส่วนมือซ้าย ใช้ประคองตัวรำมะนา และในขณะเดียวกันใช้ ปลายนิ้วทั้งสี่ ตีลงที่ขอบหนัง สอดสลับกับมือขวา มีลักษณะวิธีทำให้เสียงดังนี้
1. เสียงพรึม หรือ เสียงทิง คือการใช้ฝ่ามือขวา ที่นิ้วทั้งสี่เรียงชิดติดกัน ตีลงที่หน้าหนังใกล้ขอบด้วยกำลังแรงพอ     ประมาณ เพราะหน้ากลองกว้างใหญ่ ตีแล้วเปิดมือออกทันที เพื่อให้เสียงดังกังวาน
2. เสียงจํง คือการตีที่ใช้ปลายนิ้วทั้งสี่ของมือขวา ตีลงบริเวณขอบกลอง ตีแล้วเปิดมือ ออกให้เสียงกังวาน
3. เสียงติง คือการตีด้วยปลายนิ้วทั้งสี่ที่เรียงชิดติดกัน ลงบริเวณใกล้ขอบกลอง และใช้ ปลายนิ้วทั้งสี่ของมือ
    ซ้ายกดหน้าหนังไว้เสียงติงจะชัดขึ้น
4. เสีงเถอะ คือการตีด้วยมือขวา โดยตีลง แล้วห้ามเสียง โดยกดนิ้วทั้งสี่แนบลงกับหน้า หนังจะใช้ตีหน้าทับลาว
5. เสียงสอดสลับ คือการตีด้วยมือซ้ายโดยใช้ ปลายนิ้วทั้งสี่ตีที่ที่ขอบหนัง ใน ขณะเดียวกันก็ใช้สันมือ
    ประคองตัวรำมะนาไปด้วย

เปิงมาง


                         จากส่วนประกอบที่มีลูกเปิงมาง 7 ใบและคอกใส่ลูกเปิงมาง 1 คอก จึงเรียกเครื่อง ดนตรีชนิด นี้ว่า เปิงมางคอก แต่เดิมเป็นเครื่องดนตรีของชาวมอญ เล่นในวงปี่พาทย์มอญ ภายหลังชาวไทยนิยม นำมา บรรเลง โดยมีการรับอิทธิพลนี้มาตั้งแต่สมัยอยุธยา
                       เปิงมางคอก เป็นเครื่องดนตรีมอญชิ้นหนึ่ง มีลักษณะเป็นกลองที่ขนาดแตกต่างกัน 7 ลูก ผูก เป็นราวอยู่ในชุดเดียวกัน ลูกเปิงมางมี 7 ขนาดตั้งแต่ใหญ่ไปหาเล็ก ขึงด้วยหนัง 2 หน้า ขึ้นหน้าด้วยหนังเรียด โยงสายเร่งหนังหน้ากลองเป็นแนวยาวตลอด หุ่นกลองเวลาบรรเลงต้องติดข้าวสุก บดผสมขี้เถ้าตรงกลาง ก่อนลูกเปิงมางแต่ละใบจะมีห่วงไว้แขวน คอกเปิงมางทำเป็นรั้ว 3 ชิ้นติดต่อกัน โดยใช้ตะขอ หรือ สลัก มีตะขอแขวนลูกเปิงเป็นระยะ รั้วเป็นรูปโค้งเกือบรอบวงกลม มีทางให้คนเข้าไปบรรเลงตรงกลางคอก
1. ตีทีละลูก คือใช้มือทั้งสองตีลงบนหน้าเปิงแต่ละลูก โดยใช้มือซ้ายตีทางด้านเสียงต่ำ
   และมือขวาตีทางด้านเสียงสูงตีแล้วเปิดมือเพื่อให้เสียงดังกังวาน
2. ตีรัว คือการตีด้วยมือทั้งสองลงที่ลูกเปิงด้วยความเร็ว เรียงจากสูงไปหาต่ำ และ จากต่ำไปหาสูง
3. ตีเสียงป๊ะ คือการตีด้วยมือ (ส่วนมากเป็นมือขวา) ลงที่เปิงมางลูกใดลูกหนึ่งด้วย
    กำลังแรง ตีแล้วห้ามเสียงโดยกดแนบฝ่ามือชิดติดกับหน้าหนัง

โทน



                        โทน เป็นชื่อของเครื่องหนัง ที่ขึงหนังหน้าเดียว มีสายโยงเร่งเสียงจากขอบหนังถึงคอ มีหางยื่น ออกไปและบานปลาย มีชื่อเรียกคู่กันว่า โทนทับ โดยลักษณะรูปร่างนั้น โทนมีชื่อเรียกกัน ได้ตามรูปร่างที่ ปรากฏ 2 ชนิดคือ โทนชาตรี และ โทนมโหรี
                        โทนโดยลักษณะทางรูปร่างนั้น โทนมีชื่อเรียกตามรูปร่างที่ปรากฏ 2 ชนิด คือ โทนชาตรี และ โทนมโหรี โทนชาตรี ตัวโทนทำด้วยไม้ขนุน ไม้สัก หรือไม้กระท้อน มีขนาดปากว้าง 17 ซ.ม. ยาวประมาณ 34 ซ.ม. มีสายโยงเร่งเสียง ใช้หนังเรียด โทนมโหรี ตัวโทนทำด้วยดินเผา ด้านที่ขึงหนังโตกว่าโทนชาตรี ขนาด หน้ากว้างประมาณ 22 ซ.ม. ยาวประมาณ 38 ซ.ม. สายโยงเร่งเสียงใช้หวายผ่าเหล้าเป็นเส้นเล็ก หรือใช้ไหม ควั่นเป็นเกลียว ขึ้นหนังด้วย หนังลูกวัว หนังแพะ หนังงูเหลือมหรือหนังงวงช้าง
ปรกติตีด้วยฝ่ามือขวา ให้นิ้วชี้ นาง กลาง ก้อย เรียงชิดติกัน ตีลงที่หน้าหนังให้กลางอุ้งมืออยู่ ระหว่างขอบกลอง มีวิธีตีให้เกิดเสียงดังนี้
1. เสียงโทน่ คือใช้ฝ่ามือขวาที่นิ้วทั้งสี่เรียงชิดติดกัน ตีลงบนหนังหน้าโทน ตีแล้วเปิดมือ
    อกทันที เพื่อให้เสียงกังวาน ใช้กำลังพอประมาณ โดยเฉพาะโทนชาตรีขึงด้วยหนังบาง สำหรับ
    มือซ้ายเปิดมืออกจากปากลำโพงเพื่อให้ลมและเสียงก้องออกมา
2. เสียงป๊ะ คือการใช้ฝ่ามือขวา ที่นิ้วทั้งสี่กางออกเล็กน้อย ตีแล้วปิดมือแนบไว้กับหนัง
    หน้าโทน ด้วยกำลังแรง ขณะเดียวกันมือซ้ายใช้กลางอุ้งมือปิดปากลำโพงมิให้อากาศออก เสียง
     ป๊ะจะชัดเจน
3. เสียงเถอะ คือการใช้ฝ่ามือขวาที่นิ้วทั้งสี่ เรียงชิดติดกัน ตีลงที่หนังหน้าโทน ตีแล้วกด
ปลายนิ้วทั้งสี่แนบหนังหน้าโทนเพื่อให้เสียงสั้นทั้งนี้ไม่ใช้มือซ้ายปิดปากลำโพง
4. เสียงติง คือใช้นิ้วมือขวาตีลงที่บริเวณขอบกลอง และใช้มือซ้ายปิดปากลำโพงมิให้ลม
    ออกเสียงจะดังไพเราะชัดขึ้น ปัจจุบันในการตีโทนชาตรีของนักดนตรีภาคใต้ ใช้ตีคนเดียว 2 ลูก
    วางบนหน้าตัก ลูกหนึ่งตีด้วยมือ ขวา อีกลูกหนึ่งใช้มือซ้ายตี ขณะที่ตีจะใช้มือขวาเปิดปิดห้ามเสียง
    ไปด้วย อันเป็นความสามารถเฉพาะตัวลักษณะของโทนที่ใช้เล็ก โยงเร่งเสียงด้วยสายในล่อน ที่หน้าหนัง

ตะโพน


                       ตะโพน เป็นเครื่องดนตรีที่ขึงด้วยหนัง ตัวตะโพนทำด้วยไม้สักหรือไม้ขนุน เรียกว่า “หุ่น” ขุดแต่งให้เป็นโพรงภายใน ขึ้นหนัง 2 หน้า ดึงด้วยสายหนังโยงเร่งเสียงเรียกว่า “หนังเรียด” หน้าใหญ่มีความ กว้างประมาณ 25 ซม เรียกว่าหน้า “เท่ง” ติดหน้าด้วยข้าวสุกบดผสมกับขี้เถ้าเพื่อถ่วงเสียง อีกหน้าหนึ่งเล็กกว่า มีขนาดประมาณ 22 ซม เรียกว่า “หน้ามัด” ตัวกลองยาวประมาณ 48 ซม รอบๆขอบหนังที่ขึ้นหน้า ถักด้วยหนัง ที่ตีเกลียวเป็นเส้นเล็กๆ เรียกว่า “ไส้ละมาน” แล้วจึงเอาหนังเรียดร้อยในช่วงของไส้ละมานทั้งสองข้าง โยงเรียง ไปโดยรอบจนมองไม่เห็นไม้หุ่น มีหนังพันตรงกลางเรียกว่า “รัดอก” ข้างบนรัดอกทำเป็นหูหิ้วและมีเท้ารองให้ ตัวตะโพนวางนอนอยู่บนเท้า ใช้ฝ่ามือซ้ายขวาตีได้ทั้งสองหน้า ใช้สำหรับบรรเลงผสมอยู่ในวงปี่พาทย์ ทำหน้า ที่กำกับจังหวะหน้าทับต่างๆ
                         ตะโพน เป็นเครื่องดนตรีประเภทกลอง ตัวตะโพนเรียกว่า "หุ่น" ทำด้วยไม้เนื้อแข็ง ขุดแต่ง ให้เป็น โพรงภายใน ขึ้นหนังสองหน้า ตรงกลางป่องและสอบไปทางหน้าทั้งสอง หน้าหนึ่งใหญ่เรียกว่า "หน้า เทิ่ง" หรือ " หน้าเท่ง" ปกติอยู่ด้านขวามือ อีกหน้าหนึ่งเล็ก เรียกว่า "หน้ามัด" ใช้สายหนังเรียกว่า "หนังเรียด" โยงเร่งเสียง ระหว่าง หน้าทั้งสอง ตรงรอบ ขอบหนังขึ้นหน้าทั้งสองข้าง ถักด้วยหนังตีเกลียวเป็นเส้นเล็ก ๆ เรียกว่า "ไส้ละมาน" สำหรับใช้ร้อยหนังเรียด โยงไปโดยรอบจนหุ้มไม้หุ่นไว้หมด ตอนกลางหุ่น ใช้หนังเรียดพัน โดยรอบเรียกว่า "รัดอก" หัวตะโพนวางนอนอยู่บนเท้าที่ทำด้วยไม้ ใช้ฝ่ามือซ้าย-ขวา ตี ทั้งสองหน้า ตะโพน ใช้บรรเลงผสม อยู่ในวงปีพาทย์ ทำหน้าที่กำกับจังหวะหน้าทับต่าง
1. เสียงเท่ง (หรือเทิ่ง) ใช้มือขวาที่นิ้วมือทั้งสี่เรียงชิดติดกัน ตีลงบนหน้ารุ่ยด้วยกำลังพอประมาณแล้วเปิดมือ     ออกทันที เพื่อให้เสียงกังวาน
2. เสียงเทิด ใช้มือขวาที่นิ้วมือทั้งสี่เรียงชิดติดกันตีลงบนหน้ารุ่ยด้วยกำลังพอประมาณ แล้วห้ามเสียงโดยยังคง     ยั้งมือปิดแนบไว้กับหนังหน้าตะโพน
3. เสียงถะ ใช้มือขวาที่นิ้วมือทั้งสี่เรียงชิดติดกัน ตีลงบนหนังหน้ารุ่ย พร้อมทั้งกดมือห้ามเสียงมิให้กังวาน
4. เสียงป๊ะ ใช้มือขวา (ทั้งฝ่ามือ) ที่นิ้วมือแยกออกจากกันตีลงบนหนังหน้ารุ่ยที่บริเวณชิดใต้ข้าวสุกด้วยกำลัง     แรง แล้วสะบัดปลายนิ้วห้ามกำชับมิให้เสียงกังวาน
5. เสียงติง ใช้มือซ้ายที่นิ้วมือทั้งสี่เรียงชิดติดกัน ตีลงบนหนังหน้ามัด ด้วยกำลังพอประมาณตีแล้วเปิดมือออก     ทันที เพื่อให้เสียงดังกังวาน
6. เสียงตืด ใช้มือซ้ายที่นิ้วมือทั้งสี่เรียงชิดติดกัน ตีลงบนหนังหน้ามัดด้วยกำลังพอประมาณแต่ห้ามเสียงโดยมิ     ให้กังวานมาก ทั้งนี้ด้วยการใช้ปลายนิ้วทั้งสี่แนบหน้าหนังไว้เล็กน้อย
7. เสียงตุ๊บ ใช้มือซ้ายที่กระชับนิ้วมือทั้งสี่ที่เรียงชิดติดกัน ตีลงบนหน้ามัดแล้วห้ามเสียงทันทีโดยกดนิ้วมือทั้ง     สี่ไว้กับหน้าหนัง
8. เสียงพรึง ใช้มือทั้งสองตีลงบนหน้าหนังทั้งสองด้านพร้อมกัน แล้วเปิดมือทันทีทั้งนี้ต้องให้เสียงทั้งสอง     หน้าดังกลมกลืนกัน
9. เสียงพริง ใช้มือทั้งสองตีลงบนหน้าหนังพร้อมกัน เหมือนกับการตีเสียงพรึงแต่เปิดมือซ้ายและใช้มือขวา     ประคองเสียงหน้ารุ่ยไว้ เพื่อให้เสียงจากมือซ้ายตีหน้ามัดดังกว่า
10. เสียงเพริ่ง ใช้มือทั้งสองตีลงบนหน้าหนัง พร้อมกันด้วยกำลังแรง(โดยเฉพาะมือขวาที่หน้ารุ่ย )   แล้วเปิด       มือออกทันทีเพื่อให้เสียงดังกังวาน
11. เสียงเพริด ใช้มือทั้งสองตีลงบนหน้าหนังกลองพร้อมกันด้วยกำลังแรง และห้ามเสียงในทันทีโดยแนบมือ       ชิดไว้กับหน้าหนัง
12. เสียงพรืด ใช้มือทั้งสองตีลงบนหนังหน้ากลอง พร้อมกันด้วยกำลังแรงพอประมาณ โดยยั้งมือขวาที่ตีหน้า       รุ่ยให้เบากว่า แล้วห้ามเสียงโดยมิให้กังวานมาก

ฉิ่ง


                        เครื่องดนตรี 2 ชนิดมีเล่นกันมาช้านานแล้ว ในราวสมัยสุโขทัย เป็นเครื่องดนตรีประเภทตี
ี ทำด้วยทองเหลือง หล่อหนา ปากผายกลม 1 ชุดมี 2 ฝา ฉิ่งมี 2 ชนิดคือ ฉิ่งสำหรับวงปี่พาทย์ และ ฉิ่งที่ ใช้สำหรับวงเครื่องสาย และวงมโหรี ฉิ่งสำหรับวงปี่พาทย์มีขนาดที่วัดฝ่านศูนย์กลาง จากขอบข้าง หนึ่ง ไปสุดขอบอีกข้างหนึ่ง กว้างประมาณ 6 – 6.5 ซม เจาะรูตรงกลางสำหรับร้อยเชือก เพื่อให้จับสะดวกขณะตี ส่วนฉิ่งสำหรับวงเครื่องสายและวงมโหรีนั้น มีขนาดเล็กกว่า วัดผ่านศูนย์กลางได้ขนาดประมาณ 5.5 ซม เนื่องจากการตีฉิ่ง ต้องเอาขอบของฝาข้างหนึ่งกระทบกับอีกฝากหนึ่ง แล้วยกขึ้น ก็จะมีเสียงดังกังวานยาวดัง “ฉิ่ง” แต่ถ้าเอาทั้ง 2 ฝานั้นกระทบและประกบกันไว้ จะได้ยินเสียงดังสั้นๆดัง “ฉับ” ดังนั้นการเรียกชื่อเครื่อง ดนตรีชนิดนี้ว่า ฉิ่ง ก็เพราะเรียกตามเสียงที่เกิดขึ้นนั่นเอง
                        ฉิ่ง เป็นเครื่องดนตรีที่ทำด้วยโลหะมีใช้มาตั้งแต่สมัยโบราณ ตามประวัติสันนิษฐาน ว่ามีใน สมัย สุโขทัย ฉิ่งเป็นเครื่องดนตรีที่สำคัญที่สุดในการคุมจังหวะมีรูปร่างลักษณะคล้ายถ้วยชา หรือคล้ายๆ กับฝาขนม ครกที่ไม่มีที่จับ ฉิ่งคู่หนึ่งจะมี 2 ฝา มีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 6-6.5 ซ.ม. เจาะรูตรงกลางสำหรับ ร้อย เชือกเพื่อถือตีได้สะดวก ที่เรียกว่าฉิ่งคงจะเรียกตามเสียงที่ได้ยิน เมือตีให้ขอบกระทบกันหมิ่น ๆ จะมีเสียงดัง“ ฉิ่ง” ถ้าเอา 2 ฝาตีประกบกันจะมีเสียง “ ฉับ”
                        ผู้ตีนั่งขัดสมาธิ หรือพับเพียบ ลำตัวตรง ใช้นิ้วหัวแม่มือขวากับนิ้วชี้จับเชือกผูกฉิ่ง ในลักษณะ เหมือนคีบแล้วคว่ำมือลง ในขณะเดียวกันให้นิ้วนาง กลาง ก้อย กรีดออกคุมฝาฉิ่ง ส่วนมือซ้ายจับเช่นเดียวกับ มือขวา แต่หงายฝาฉิ่งขึ้นรับฝาบน มีวิธีตีที่ทำให้เกิดเสียงอยู่ 2 แบบคือ เสียงฉิ่ง กับ เสียงฉับ

กลองยาว


                        กลองยาว เชื่อกันว่ากลองยาวได้แบบอย่างมาจากพม่าในสมัยกรุงธนบุรีหรือ ต้นกรุงรัตน โกสินทร์ สมัยที่ไทยกับพม่ากำลังทำสงครามกัน เวลาพักรบ พวกทหารพม่าก็เล่น "กลองยาว" กันสนุกสนาน พวกชาวไทยได้เห็นก็จำแบบอย่างมาเล่นบ้าง แต่บางท่านก็เล่าว่า กลองยาวของพม่าแบบนี้ มีชาวพม่าพวกหนึ่ง นำเข้ามาเล่นใน งานที่มีกระบวนแห่ เช่น บวชนาค ทอดกฐินเป็นต้น และนิยมเล่นกันเป็นที่รื่นเริง สนุกสนาน ในเทศกาล สงกรานต์และ เล่นกันแพร่หลายไปแทบทุกหัวบ้านหัวเมือง วงหนึ่งๆ จะใช้กลองยาวหลายลูกก็ได้ เครื่องดนตรีที่ใช้บรรเลงร่วม เรียกการเล่นชนิดนี้ว่า "เถิดเทิง" หรือ "เทิงกลองยาว" ที่เรียกเช่นนี้เข้าใจว่า เรียกตามเสียงกลองที่ตีและ ตามรูปลักษณะ กลองยาว
                        กลองยาวเป็นเครื่องดนตรีสำหรับตีด้วยมือ ตัวกลองทำด้วยไม้ มีลักษณะกลมกลวง ขึงด้วยหนัง มีหลายชนิด ถ้าทำด้วยหนังหน้าเดียว มีรูปยาวมากใช้สะพายในเวลาตี เรียกว่ากลองยาวหรือเถิดเทิง
1. ในกรณีกลองประเภทที่ต้องใช้ข้าวติดหน้ากลองให้ทำความสะอาดโดยการใช้ผ้าเปียกน้ำพอหมาดๆเช็ด      หน้ากลองให้สะอาด
2. นำกลองที่ทำความสะอาดแล้วใช้ผ้าคุมหรือนำผ้าไปตัดเป็นถุงใส่ เพื่อกันความชื้น
3. ตรวจสอบคุณภาพความตึงของเสียงกลองให้ได้มาตรฐานอยู่เสมอ

กลองสะบัดชัย



                       เป็นกลองที่มีมานานแล้วนับหลายศตวรรษ ในสมัยก่อนใช้ ตียามออกศึกสงคราม เพื่อเป็น สิริมงคล และเป็น ขวัญกำลังใจให้แก่เหล่าทหารหาญในการต่อ สู้ให้ได้ชัยชนะ ทำนองที่ใช้ในการตีกลอง สะบัดชัยโบราณมี 3 ทำนอง คือ ชัยเภรี, ชัย ดิถี และชนะมารการตีกลองสะบัดชัยเป็นศิลปะการแสดงพื้นบ้านล้านนาอย่างหนึ่ง ซึ่งมักจะพบเห็นในขบวนแห่หรืองานแสดงศิลปะพื้นบ้านในระยะหลังโดยทั่วไป ลีลาใน การตีมีลักษณะโลดโผนเร้าใจมีการใช้อวัยวะหรือส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย เช่นศอก เข่า ศีรษะ ประกอบในการ ตีด้วย ทำให้การแสดงการตีกลองสะบัดชัยเป็นที่ประทับใจของผู้ที่ได้ชม จนเป็นที่นิยมกันอย่างกว้างขวาง ในปัจจุบัน
             
                       รูปร่างลักษณะกลองสะบัดชัย รูปร่างลักษณะแต่เดิมนั้น คือกลองสะบัดชัยจำลอง
ทำด้วยสำริด ขุดพบที่ ตำบลบ้านหลวง อำเภอฮอด จังหวัดเชียงใหม่ กลองสะบัดชัยดังกล่าว ประกอบ ด้วยขนาดกลองสองหน้าเล็ก 1 ลูก กลองสองหน้าขนาดใหญ่ 1 ลูก ฆ้องขนาดหน้ากว้างพอ ๆ
กับกลองใหญ่อีก 1 ใบ พร้อมไม้ตีอีก 3 อัน หน้ากลองตรึงด้วยหมุดตัดเรียบมีคานหามทั้งกลอง
และฆ้องรวมกัน ส่วนที่พบโดยทั่วไป คือกลองสะบัดชัยที่แขวนอยู่ตามหอกลองของวัดต่าง ๆ
ในเขตล้านนา ซึ่งมักจะมีลักษณะเหมือนกัน คือมีกลองสองหน้าขนาดใหญ่ 1 ลูก หน้ากว้าง
ประมาณ 30 – 35 นิ้ว ยาวประมาณ 45 นิ้ว หน้ากลองหุ้มด้วยหนังตรึงด้วยหมุด ( ล้านนาเรียก ‘' แซว่ ) โดยที่หมุดไม่ได้ตัดเรียบคงปล่อยให้ยาวออกมาโดยรอบ ข้าง ๆ กลองใหญ่ มีกลองขนาดเล็ก 2 - 3
ลูก เรียกว่า ลูกตุบ ‘' กลองลูกตุบทั่วไปมักมีสองหน้าบางแห่งมีหน้าเดียว ขนาดหน้ากว้างประมาณ
8 - 10 นิ้ว ความยาวประมาณ 12 – 15 นิ้ว หน้ากลองหุ้มด้วยหนังตรึงด้วยหมุดเช่นกัน
1. ในกรณีกลองประเภทที่ต้องใช้ข้าวติดหน้ากลองให้ทำความสะอาดโดยการใช้ผ้าเปียกน้ำพอหมาดๆเช็ด      หน้ากลองให้สะอาด
2. นำกลองที่ทำความสะอาดแล้วใช้ผ้าคุมหรือนำผ้าไปตัดเป็นถุงใส่ เพื่อกันความชื้น
3. ตรวจสอบคุณภาพความตึงของเสียงกลองให้ได้มาตรฐานอยู่เสมอ

กลองสองหน้า



                       สันนิษฐานว่าเริ่มนำมาใชในสมัยรัชกาลที่ 4 มีลักษณะคล้ายลูกเปิงมาง แต่ใหญ่กว่า หน้ากลอง ด้านกว้างเส้นผ่าศูนย์กลาง 21-24 เซนติเมตร ด้านเล็กเส้นผ่าศูนย์กลาง 20-22 เซนติเมตร ตัวกลองยาว 55-58 เซนติเมตร ใช้ ในประกอบวงปี่พาทย์ และใช้ตีประกอบจังหวะขับเสภาการเดี่ยวเครื่องดนตรีต่างๆด้วย
                        กลองสองหน้า ลักษณะคล้ายเปิงมาง แต่ใหญ่กว่า ตีด้วยมือขวา ใช้ใบเดียวตีกำกับ จังหวะใน วงปีพาทย์ที่บรรเลงในการขับเสภา
1. ในกรณีกลองประเภทที่ต้องใช้ข้าวติดหน้ากลองให้ทำความสะอาดโดยการใช้ผ้าเปียกน้ำพอหมาดๆเช็ด      หน้ากลองให้สะอาด
2. นำกลองที่ทำความสะอาดแล้วใช้ผ้าคุมหรือนำผ้าไปตัดเป็นถุงใส่ เพื่อกันความชื้น
3. ตรวจสอบคุณภาพความตึงของเสียงกลองให้ได้มาตรฐานอยู่เสมอ