วันอังคารที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

ฆ้องวงใหญ่



                     ฆ้องวงเป็นเครื่องตีที่คิดประดิษฐ์สร้างให้มีวิวัฒนาการมาโดยลำดับ จากฆ้องเดี่ยว
ฆ้องคู่  และฆ้องราง  ฆ้องวงใช้ต้นหวายโป่ง ทำเป็นร้านสูงประมาณ 24 เซนติเมตร หวายเส้นนอกกับเส้นใน ห่างกันประมาณ 14  - 17 เซนติเมตร ดัดโค้งไปเกือบรอบตัวคนนั่งตีเปิดช่องไว้สำหรับทางเข้าด้านหลังคนตี
ห่างกันราว 20 – 30 เซนติเมตร ขนาดความกว้างจากขอบวงในทางซ้าย ไปถึงขอบวงในทางขวากว้าง ประมาณ 82 เซนติเมตร จากด้านหน้าไปด้านหลัง กว้างประมาณ 66 เซนติเมตร ให้คนนั่งตีนั่งขัดสมาธิ นั่งตีได้สบาย แล้วเจาะรูลูกฆ้อง ลูกละ 4 รู ใช้เชือกหนังผูกร้อยกับเรือนฆ้องให้ปุ่มของลูกฆ้องหงาย ขึ้นผูก เรียงลำดับขนาด ลูกต้นไปหาลูกยอดตั้งแต่ใหญ่ไปหาเล็ก เรียงลำดับเสียงจากต่ำไปหาสูง ฆ้องวงหนึ่ง มีจำนวน 16 ลูก ลูกต้นวัดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 17  เซนติเมตร อยู่ทางซ้ายมือด้านหลังผู้ตี ลูกยอดวัด ผ่านศูนย์กลางประมาณ 12 เซนติเมตร อยู่ทางขวามือด้านหลังผู้ตี และใช้ตีด้วย ไม้ตีทำด้วยแผ่นหนังดิบตัด
ไม้ตีทำด้วยแผ่นหนังดิบตัดเป็นวงกลม เจาะกลางสอดไม้สำหรับมือถือ วงหนึ่งใช้ไม้  ตี 2 อัน ถือตีข้างละมือ
                      ฆ้องวงใหญ่ใช้ต้นหวายดัดโค้งเป็นวงล้อมไปเกือบรอบตัว คนนั่นตีเรียกว่า "ร้าน" เปิดช่อง ไว้สำหรับเป็นทางเข้าด้านหลังคนตี ลูกฆ้องวงใหญ่มี 16 ลูกขนาดตั้งแต่ใหญ่ไปหาเล็ก เรียงลำดับ ตั้งแต่เสียง ต่ำไปหาเสียงสูง ฆ้องวงใหญ่ใช้บรรเลงทำนองหลักของเพลง ผู้ที่จะหัดปี่พาทย์ควรเริ่มหัดตีฆ้องวงใหญ่ก่อน เพื่อจะได้เป็นรากฐานทางดนตรีที่มั่นคง
1. การบรรเลงฆ้องวง ผู้เล่นต้องนั่งให้ตรงกลางฆ้องวง วิธีการนั่ง นั่งได้ทั้งพับเพียบหรือขัดสมาธิ การจับไม้      ตีฆ้องวงผู้บรรเลงต้องรวบนิ้วกลางนิ้วนางและนิ้วก้อย กำไม้ฆ้องไว้กับฝ่ามือ ใช้นิ้วโป้ง และนิ้วชี้เป็น      ตัวประคอง ให้นิ้วชี้ชิดกับหัวไม้
2. การเก็บไม้ตีฆ้อง ควรมีถุงใส่ หรือวางรวมกันไว้บนลูกฆ้อง ไม่ควรวางกับพื้น
3. การทำความสะอาด ควรใช้ผ้าแห้งหรือผ้าหมาดๆทำความสะอาด
4. ควรวางฆ้องวงให้ราบกับพื้น ไม่ควรวางหรือตั้งพิงไว้ข้างฝาผนัง เพราะอาจทำให้ฆ้องวงล้มอาจหักได้
5. การยกฆ้องวง ไม่ควรยกเพียงคนเดียวเนื่องจากเป็นเครื่องตีที่มีน้ำหนักมากและขนาดใหญ่ ควรจะยกฆ้อง     ให้ตั้งฉาก หรือขนานกับพื้น ห้ามกับด้าน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น